ฐานข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวตำบลบ้านไทย 

สามารถแบ่งสถานที่/แหล่งท่องเที่ยวได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่

1.การท่องเที่ยวเชิงเกษตร  เป็นการท่องเที่ยวในพื้นที่ชุมชนเกษตร ซึ่งประชาชนในตำบลบ้านไทยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ได้แก่ ทำนา ทำไร่ เลี้ยงสัตว์ เป็นต้น

 

ชื่อสถานที่ท่องเที่ยว : สวนแตงสิริภัค

ที่ตั้ง : บ้านโพนทราย หมู่ 4 ตำบลบ้านไทย อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี 

เส้นทางการท่องเที่ยว : บ้านโพนทราย หมู่ที่ 4 ไปทางบ้านโนนดู่ ตรงไปอีก 4 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าไปอีก 500 เมตร ก็จะถึงสวนแตงสิริภัค

ช่วงเวลาการท่องเที่ยว :  ตลอดปี 

 

 

 

 

 

 สวนแตงสิริภัคเป็นสถานที่ท่องเที่ยวให้ความรู้ด้านการเกษตร โดยเฉพาะเกษตรผสมผสาน เกษตรเชิงอนุรักษ์ อาทิ การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ การปลูกผัก ผลไม้ไว้รับประทานและบริโภค เป็นการสร้างรายได้และรักษาระบบนิเวศธรรมชาติ นอกจากนี้ยังเป็นการเผยแพร่ความรู้ด้านการเกษตรให้กับนักท่องเที่ยวอีกด้วย

 

 

2.แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เป้นการท่องเที่ยวและเยี่ยมชมสถานที่แสดงถึงความเป็นวัฒนธรรม เช่น การชมโบราณ วัด ประเพณีการจัดงานต่างๆ รวมถึงการดำเนินชีวิตของบุคคลในชุมชนในท้องถิ่น 

 

ชื่อสถานที่ท่องเที่ยว : วัดหอไตร  บ้านโพนทอง

ที่ตั้ง : บ้านโพนทอง ตำบลบ้านไทย อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี 

ช่วงเวลาการท่องเที่ยว :  ตลอดปี 

 

 

 

 

วัดหอไตร บ้านโพนทอง เป็นวัดโบราณแห่งหนึ่ง เรือเจ้าแม่พิมวดีเป็นโบราณสถานและวัดถุที่ชาวบ้านชาวตำบลบ้านไทยและหมู่บ้านใกล้เคียงรวมถึงผู้มีจิตศรัทธามาสักการะเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะเรือเจ้าแม่พิมวดีที่ศักดิ์สิทธิ์

 

 

 ชื่อสถานที่ท่องเที่ยว : วัดทุ่งใหญ่

ที่ตั้ง : บ้านทุ่งใหญ่ ตำบลบ้านไทย อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี 

ช่วงเวลาการท่องเที่ยว :  ตลอดปี 

 

 

 

 

ประวัติพระครูขันติคุณาภรณ์  

หลวงพ่อพระครูขันติคุณาภรณ์ มีนามเดิมว่า บุญมา นามสกุล ทองบำเรอ ชื่อเล่น อ่อน เกิดเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ.2474 ตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 6 ปีมะแม ที่บ้านเลขที่ 75 หมู่ 8 บ้านทุ่งใหญ่ ตำบลบ้านไทย อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี โยมบิดาชื่อ นายสอน ทองบำเรอ โยมมารดาชื่อ นางสุนา ทองบำเรอ มีพี่น้องร่วมบิดามารดากันทั้งหมด 5 คน ได้แก่ 1. นายบุญ ทองบำเรอ 2. นายพรมมา ทองบำเรอ (เสียชีวิต) 3. นายบุญมา ทองบำเรอ (พระครูขันติคุณาภรณ์) 4. นางหม่อน บุญทา 5. ด.ญ.เข็มพร ทองบำเรอ (เสียชีวิตตั้งแต่เยาว์วัย) 

ชีวิตปฐมวัย

เมื่อเยาว์วัย หลวงพ่อเหมือนเด็กๆ ทั่วไป โยมบิดามารดามีอาชีพทำนา ท่านเป็นเด็กที่น่ารักว่านอนสอนง่าย พออายุ 7 ขวบ โยมบิดานำหลวงพ่อเข้าเรียนหนังสือที่โรงเรียนวัดบ้านทุ่งใหญ่ (เดิมใช้ศาลาวัดเป็นสถานที่เรียน) ในชั้นเตรียมมูล 2 ปี ท่านเรียนจบชั้นประถมปีที่ 4 เมื่อปี พ.ศ.2488 และจบเป็นรุ่นแรกของโรงเรียนแห่งนี้ หลังจากนั้นก็ได้ช่วยโยมบิดามารดาทำนา หลวงพ่อเป็นคนมีอุปนิสัยอ่อนน้อม ให้ความเคารพบิดามารดาและผู้ใหญ่ หลวงพ่อเคยสั่งสอนลูกหลานอยู่ประจำว่า ไม้แก่กว่าหลัว แก่กว่าพระ ไม้ลื่นวาปลาลื่นห้วย เด็กน้อยลื่นผู้ใหญ่ หลวงพ่อเป็นคนขยันเอาการเอางาน เมื่อว่างจากการทำนาก็จะไปหาอาชีพอื่นๆ ทำ เช่น ตัดอ้อย , เป็นช่างไม้ , ช่างปั้นดินปั้นหม้อ หลวงพ่อเป็นคนขยัน ประหยัด อดทน พึ่งตนเองใช้ชีวิตอย่างไม่ประมาทมาตั้งแต่สมัยเป็นหนุ่ม และจะเตือนสติลูกหลานอยู่เสมอว่า ทุกข์เพิ่นว่าบ่ดี มีเพิ่่นจั่งว่าพี่น้อง ลุงป้ากะว่าหลาน พออายุย่างเข้า 17 ปี ก็เดินทางเข้าเมืองกรุง (กรุงเทพฯ) เพื่อหางานทำตามคำชักชวนของพี่ชาย โดยการปั่นสามล้อรับจ้างที่กรุงเทพฯ เป็นเวลา 4 ปี พออายุครบเกณฑ์ทหารจึงเดินทางกลับบ้านเกิดเพื่อเกณฑ์ทหาร และท่านได้ตั้งปณิธานเอาไว้ว่า หากไม่ได้รับใช้ชาติด้วยการเป็นทหารจะขออุปสมบท เพื่อทดแทนพระคุณบิดามารดา หลวงพ่อเคยแนะนำสั่งสอนศิษย์และลูกหลานใหตอบแทนผู้มีพระคุณว่า "ลืมตัว หลงอวดโอ้ ตัวดี ลืมเมีย ปละปล่อยหนี อย่าเว้น ลืมเกลอ เกลอกลับชี้ คราไกล ลืมแม่พ่อ ปราศเว้น ห่อนถาม"

การอุปสมบท

เมื่ออายุครบ 21 ปี หลังเกณฑ์ทหาร เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ.2494 ตรงกับวันอาทิตย์ เดือน 7 ปีมะโรง หลวงพ่อก็ได้อุปสมบทเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ ที่อุโบสถวัดบ้านทุ่งใหญ่ ตำบลบ้านไทย อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี  โดยมี พระอ่วม สุวโจ วัดหอไตร บ้านโพนทอง อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี เป็นพระอุปัชฌาย์ เจ้าอธิการพรหม ปุญเญสโก เจ้าอาวาสวัดบ้านทุ่งใหญ่ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการสาธ์ วิปุโล เจ้าอาวาสวัดบ้านกอก เป็นพระอนุสาวนาจารย์ บาลี อักษรขอม ไทยน้อย อักษรลาว ทำให้ท่านมีความรู้ด้านอักขระโบราณอีกแขนงหนึ่ง ด้านวิชาอาคมหลวงพอ่ได้เ่ล่าเรียนวิชาจากพระอาจารย์เคนและอาจารย์จ้อยวัดบ้านโพนทราย ตำบลบ้านไทย อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี หลวงพ่อเรียนคาถา 108 หัวใจ การเสกหอก ดาบ หลาว แหลน ศาสตรวุธ วิชารักษาโรค การประสานกระดูกด้วยน้ำมนต์ น้ำมันมะพร้าวและน้ำมันงา เรียนวิฃาทำน้ำมนต์ด้วยเทียนเดี่ยวและเทียนคู่ การรดน้ำมนต์แก้อาถรรพ์ ปัดรังควาน  ไล่เสนียดจัญไร ไล่ภูตผีที่สิงในร่างกายมนุษย์ และใช้วิชาเหล่านั้นในการสงเคราะห์อนุเคราะห์ญาติโยม และศิ๋ษย์ยานุศิษย์ทั้งใกล้ไกล 

ปาฏิหาริย็์ที่เกิดขึ้นกับหลวงพ่อ

เมื่อหลวงพ่ออุปสมบทได้เพียง 1 พรรษา  ท่านก็อาพาธมีไข้สูงอยู่หลายวันโดยไม่ทราบสาเหตุ มีวันหนึ่งท่านหลับและหมดสติไป แต่ระบบหายใจ และไหลเวียนโลหิตของร่างกายยังทำงานปกติ เหมือนคนนอนหลับ ท่านหลับนานถึง 7 วัน ในที่สุดขณะที่ญาติโยมเฝ้าดูอาการท่านอยู่นั้นท่านก็รู้สึกตัวและฟื้นคืนมา เหมือนคนนอนหลับแล้วตื่น ท่านเล่าให้ญาติโยมฟังว่า ท่านรู้สึกเหมือนได้เดินทางไปยมโลก ไปเห็นผู้คนลักษณะเหมือนนักโทษ มีผู้คุมแต่งกายเหมือนทหารโบราณบางทีก็นิมนต์หลวงพ่อแสดงธรรมให้นักโทษฟัง มีเจ้าหน้าที่ตรวจสอบบัญชีความดีความชั่วของมนุษย์ เจ้าพนักงานถามท่านว่าเคยทำบุญทำทานหรือไม่ หลวงพ่อจึงตอบไปว่า เคยตักบาตรแต่ไม่เคยกรวดน้ำ พนักงานอีกคนจึงบอกท่านว่าทำบุญไม่กรวดน้ำนั้นทำให้อดน้ำและหิวน้ำ หลังจากนั้นจึงมีคนนำท่านมาส่งพร้อมกับยื่นเงินให้ท่าน 75 บาท ขณะเดินทางอยู่นั้นมีควายต้วหนึ่่งวิ่งมาจะชนหลวงพ่อ พนักงานสั่งให้หยุดแล้วถาม ควายบอกว่าหลวงพ่อเคยใช้ให้ไถนาหลวงพ่อก็บอกว่า ทำบุญให้แล้วตะแคงเขาดูสิ ปรากฏว่ามีน้ำไหลออกมาจากเขาควาย พนักงานจึงบอกท่านว่าอายุท่านยังไม่หมด ก่อนจะกลับมาเขาให้ลวงพ่อหลับตารู้สึกเหมือนเขานำท่านมาส่งที่บ้านกอก แล้วหลวงพ่อก็รู้สึกตัวเพราะรู้สึกหิวน้ำมาก เป็นคำบอกเล่าที่หลวงพ่อเล่าให้ฟัง เวลาที่หลวงพ่อเทศนาสั่งสอนญาติโยม ท่านมักจะพูดเสมอว่า จงรักษาจิตตนให้ดี ทำหน้าที่ให้ถูกต้อง มองทุกสิ่งอย่างเป็นธรรมดา แผ่เมตตาอย่าได้ขาด ไม่ประมาทในชีวิต 

การศึกษาพระปริยัติธรรม

พ.ศ.2496 สอบได้นักธรรมชั้นตรี

พ.ศ.2499 สอบได้นักธรรมชั้นโท

พ.ศ.2500 สอบได้นักธรรมชั้นเอก

พ.ศ.2500-2510 เป็นกรรมการสอบธรรมสนามหลวง หลังจากเรียนจบนักธรรมชั้นเอกหลวงพ่อเป็นครูสอนปริยัติธรรมพระภิกษุสามเณรที่สำนักสงฆ์วัดทุ่งใหญ่มาโดยตลอด 

ปัจฉิมบท

หลวงพ่อพระครูขันติคุณาภรณ์ ท่านเป็นผู้กอปรด้วย ศีลาจารวัตร ได้ชื่อว่า พุทธชิโนรส ปรากฏตลอดเวลา 58 พรรษา ที่หลวงพ่อได้ดำรงอยู่ในสมณเพศ มีปฏิปทาสัมมาปฏิบัติเคร่งครัด เป็นที่เลื่อมใสศรัทธา มีจิตอุดมด้วยพรหมวิหารธรรม สาธุชนทั่วไปจึงกราบไหว้ด้วยใจเคารพนอบน้อม และถวายการอุปถัมภ์บำรุงหลวงพ่อในส่วนที่เป็นสมณบริโภคเพื่อให้เกิดความ สะดวกสบาายให้อยู่เย็นเป็นสุข จักได้เป็นองค์ประมุขแก่หมู่สงฆ์ผู้ทรงไตรสิกขาแห่งอาราม เป็นปูชนียบุคคลของสาธุชนทั่วไป

 การอาพาธ

หลวงพ่อไม่เคยพูดกับใครเลยว่าไม่สบาย จนกระทั่งปี พ.ศ.2540 หลวงพ่อมีอาการเวียนหัว จึงได้ไปตรวจและปรึกษาหมอที่โรงพยาบาลราชเวชอุบลราชธานี หมอได้ตรวจโรคและวัดความดันโลหิต ปรากฏว่าหลวงพ่อเริ่มมีอาการเป็นโรคความดันโลหิตสูงแต่ไม่มาก รับยามาทานและไปตรวจความดันเป็นประจำทุกเดือน บางครั้งปกติ บางครั้งก็สูงนิดหน่อยแต่สังขารทั้งหลายกิดขึ้นแล้วย่อมดับไปเป็นธรรมดา ความไม่ดเที่่ยงแท้ย่อมปรากฏแก่ทุ่งสิ่งเหมือนคำกล่าวที่ว่า สรรพสิ่งอยู่แค่วิบัติ สรรพสัตว์อยู่แค่ตาย ในที่สุดวาระสุดท่้ายของหลวงพ่อก็ได้มาถึง หลวงพ่อก็ตกอยู่ในภาวะแห่งธรรมที่มีอยุู่ประจำโลก คือ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ไม่มีใครยืนยงอยู่เหนือธรรมชาติไปได้ เช้าวันที่ 25 กรกฎาคม 2553 กิจวัตรสำคัญและประจำที่่หลวงพ่อปฏิบัติทุกวัน หลวงพ่อตื่นนอนเวลาประมาณ 03.30 น. ตามปกติ เพื่อเดินออกกำลังกาย (เดินจงกรม) เสร็จแล้วหลวงพ่อจะไปจุดธูปเทียนบูชาพระพุทธรูปสิมน้อย บูชาพระฤาษี บูชาพระธาติของหลวงปูพรหม ปุญเญสโก (พระอาจารย์ของหลวงพ่อ) เสร็จแล้งก็เตรียมทำวัตรเช้า เวลา 04.00 น. ช่วงเวลานั้นเองพระลูกวัดได้ยินเสียงของหลวงพ่อร้องบอกว่าช่วยผมด้วย พระลูกวัดก็พากันวิ่งไปช่วยทันที เห็นหลวงพ่อนอนคว่ำหน้าอยู่ที่บันไดกุฏิที่พำนักสงฆ์ พระสงฆ์พร้อมด้วยญาติโยม ศิษย์ยานุศิษย์ที่อยู่บริเวณใกล้เคียงวัดบ้านทุ่งใหญ่รีบน้ำหลวงพ่อส่งโรงพยาบาลราชเวชอุบลราชธานี แพทย์ พยาบาลได้รีบช่วยเหลือทันทีจนหลวงพ่อฟื้นพูดได้เป็นปกติ เวลาประมาณ 10.00 น. แพทย์ลงความเห็นว่าหลวงพ่อมีอาการน้ำท่วมปอด จะต้องได้รับการผ่าตัดเอาน้ำออก จึงทำการส่งตัวไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ เนื่องจากในวันนั้นเป็นวันเสาร์ วันหยุดราชการ แพทย์เวรบอกว่าหมอผ่าตัดไปราชการผู้ป่วยหนักและเป็น ห้องผู้ป่วยรวมอายุรเวชชาย พอตกกลางคืนหลวงพ่อมีอาการนอนไม่หลับ มีความประสงค์จะกลับวัด แต่ไม่มีใครกล้าขอแพทย์พยาบาล พอตอนเช้า 06.00 น. หลวงพ่อฉันข้าวต้มและอาหารเสริมได้นิดหน่อย พูดคุยกระสับกระส่าย เหนื่อยหอบ จนต้องปั๊มหัวใจใช้เครื่องช่วยหายใจ ญาติโยมศิษยานุศิษย์ชาวบ้านทุ่งใหญ่ที่มาเฝ่้าไข้ ตกลงใจนำหลวงพ่อกลับวัดบ้านทุ่งใหญ่ตามความประสงค์ของท่านที่บอกไว้ก่อนที่ หลวงพ่อจะไม่รู้สึกตัว พอกลับถึงวัดเวลาประมาณ 19.00 น. นำหลวงพ่อนอพักที่กุฏิหลวงพ่อ เวลา 19.15 น. เสียงระฆังดังขึ้นเหมือนบอกเหตุแก่พระภิกษุสงฆในวัด และญาติโยมลูกหลานศิษย์ยานุศิษย์ ชาวบ้านใกล้ไกลเมื่อทราบข่าวก็มารวมกันที่บริเวณวัดอย่างเนืองแน่น พระภิกษุในวัดขึ้นมาบนกุฏิหลวงพ่อ เมื่อมาถึงแล้วท่านให้จุดเทียนหน้าพระพุทธรูป พระสงฆ์ทั้งหมดสวดบทพุทธคุณ ธรรมคุณ พอถึงบทสังฆคุณ ว่า สุปฏิปันโน หลวงพ่อท่านก็ได้ละสังขารด้วยอาการสงบ มีสติมั่นคงดำรงอยู่ในสมาธิ ไม่ได้แสดงออกอาการทุกขเวทนาแห่งอาพาธให้ปรากกแต่ประการใด โดยจะเห็นได้จากการมรณภาพนั้นในลักษณะสีหไสยาสน์ ตะแคงขวา เท้าซ้อนกัน มือประนม หันศรีษะไปทางทิศเหนือ 

มรณภาพ 

เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2553 เวลา 19.15 น. หลวงพ่อได้ละสังขารอันไม่จีรังยั่งยืน สู่สุคติภพ ลูกหลานญาติโยม ศิษย์ยานุศิษย์ทั้งหลายได้ฟังเสียงได้ฟังเสียงกลองรัวดังกังวาน ประสานเสียงระฆังที่วิเวกวังเวง ณ ยามค่ำคืน เสียงเช่นนี้หาใช่เหตุอื่นไม่แน่แท้จักต้องเป็นสัญญาณบอกเหตุอันไม่พึงปรารถนาแน่นอน เมื่อข่าวหลวงพ่อละสังขารและถึงแก่มรณภาพ ณ เพลานั้น สิ้นแล้วร่มโพธิ์แก้วอันประเสริฐและที่พึ่งของลูกหลาน ญาติโยม และศิษย์ยานุศิษย์ 

 

3. การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ  เป็นกิจกรรมเพื่อการรักษาสุขภาพ 

ชื่อสถานที่ท่องเที่ยว : โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไทย 

ที่ตั้ง หมู่ 2 ตำบลบ้านไทย อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี 

ช่วงเวลาการท่องเที่ยว : ตลอดทั้งปี

 

 

 

Submit to FacebookSubmit to Google PlusSubmit to TwitterShare with friendsPrint this page